ประวัติกรุงโซล
โซล (เกาหลี: 서울, MC: Seoul ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคน[4]ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คนนครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ
โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ
ธงชาติ ประเทศเกาหลีใต้
ธงชาติสาธารณรัฐเกาหลี (หรือ “เกาหลีใต้”) มีชื่อเรียกเฉพาะว่า แทกึกกี (เกาหลี) มีลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว กลางธงมีรูปวงกลม “แทกึก” สีแดง-น้ำเงิน ล้อมข้างด้วยขีดสามเส้นรูปต่างๆ ตามคัมภีร์อี้จิงของจีน 4 รูปตามแต่ละมุมของธง ธงนี้ออกแบบโดยปัก ยอง ฮโย (Bak Yeong-hyo) ราชทูตเกาหลีประจำประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องการให้มีธงเพื่อแสดงความเป็นชาติให้ญี่ปุ่นซึ่งกำลังรุกรานเกาหลีในเวลานั้นได้เห็น พระเจ้าโกจงแห่งราชวงศ์โชซอนได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็นธงชาติเกาหลีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2426
ตราสัญญาลักษณ์ประเทศเกาหลีใต้
ดอกไม้ประจำประเทศ
คือดอกมูกุงฮวา หรือ Rose of Sharon ซึ่งจะบานสะพรั่งทั่งประเทศระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม สิ่งที่ทำให้ดอกไม้ชนิดนี้ไม่เหมือนดอกไม้ชนิดอื่นคือสามารถทนสภาพอากาศที่เลวร้ายและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ความหมายของคำว่า มูกุงฮวา มาจากรากศัพท์ มูงกุง ซึ่งหมายถึงความเป็นอมตะ ซึ่งสะท้อนความเป็นอมตะของประวัติศาสตร์เกาหลี ความมุ่งมั่น และความอดทนของชาวเกาหลี
ที่มา;https://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=629
ที่มา:https://jittanan.wordpress.com/ประวัติกรุงโซล/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น